Skip to content

ซะกาต คืออะไร

“ซะกาต” ตามความหมายในเชิงภาษาศาสตร์ หมายถึง การทำให้สะอาดบริสุทธิ์ ความจำเริญ หรือการพัฒนา … สำหรับมุสลิมที่มีทรัพย์สินมากเพียงพอตามกติกาที่ศาสนากำหนด การจ่ายซะกาต จึงเป็นเครื่องชำระล้างสิ่งที่มีในครอบครองให้บริสุทธิ์ ในหนทางของอัลลอฮ์
และซะกาต ยังเป็นถึงเครื่องมือดูแลสังคม ที่ถูกกำหนดมาจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.)
ผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาต จะมี 8 จำพวก ดังต่อไปนี้
  1. คนยากไร้ (ฟากิร) ผู้มีรายได้น้อยไม่พอกิน หรือขาดแคลนปัจจัยยังชีพ
  2. คนขัดสน (มิสกีน) ผู้ที่กำลังตกที่นั่งลำบาก ในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ และชักหน้าไม่ถึงหลัง
  3. เจ้าหน้าที่ซะกาต ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล บริหารจัดการ และรับซะกาตมาเพื่อจัดส่งมอบให้แก่ผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาต
  4. ผู้ที่ได้รับทางนำ และการดลใจ ให้เข้ารับอิสลาม (รวมไปถึงผู้ที่สนใจศึกษาอิสลาม)
  5. ผู้ไร้อิสรภาพ
  6. ผู้ที่มีหนี้สิน (หนี้มากกว่ารายรับ)
  7. ผู้ที่ใช้ชีวิตในวิถีทางของอัลลอฮฺ ทำกิจกรรมทางศาสนา ทำงานดะอฺวะฮฺ
  8. คนเดินทาง
หากมุสลิมคนใด ได้รับโอกาสจากอัลลอฮ์ ให้มีทรัพย์สินในครอบครองมากถึงจำนวน มูลค่าราคาทองคำ 85 กรัม หรือ5.66 บาท ราคาทอง ขอจงได้รีบในการจ่ายซะกาตเถิด
ดังที่บรรดาบรรพชนอิสลามได้รายงานไว้ว่า
ท่านอบูฮูรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) รายงานว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ :
ความว่า : ไม่มีผู้ครอบครองทรัพย์สินใด ที่ไม่จ่ายซะกาต (ในวันปรโลก) นอกเสียจากทรัพย์นั้น จะถูกนำไปเผาในนรกญะฮัมนัม จนเป็นแท่ง แล้วถูกนำไปทาบกับสีข้างทั้งสองและหน้าผากของเขา จนถึงวันที่อัลลอฮฺจะทรงพิพากษาบ่าวของพระองค์ ในวันซึ่งเวลาของมันนานเท่ากับห้าหมื่นปี (ของโลกนี้). รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม

ดังนั้นแล้ว เมื่อพี่น้องผู้ศรัทธามีทรัพย์สินที่ต้องจ่ายซะกาต และตัดสินใจไม่ได้ว่าจะต้องส่งมอบซะกาตให้ใคร สามารถแจ้งมูลนิธิอิสลามทอล์ค ให้ช่วยนำซะกาตของท่าน ไปถึงกลุ่มคน 8 จำพวกที่ศาสนากำหนดได้